กำเนิดกีฬาเด็ดบทความบาสเก็ตบอล

กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

Copy of ทำไมคนถึงชอบ กีฬาเทนนิส   WP 3 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

Copy of ทำไมคนถึงชอบ กีฬาเทนนิส   WP 3 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

ถ้านึกภาพหรือเอ่ยถึงชื่อกีฬา บาสเก็ตบอล ขึ้นมาล่ะก็ เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงชื่อของ NBA อย่างแน่นอน แต่ก็อาจมีใครอีกหลายคน ที่ยังไม่รู้ว่า ลีกบาสที่ยิ่งใหญ่สุด ๆ ในเอเชีย ที่ศักยภาพแทบจะเทียบเท่าศึกยักษ์ใหญ่อย่าง NBA ก็มีอยู่เช่นกัน และอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเรามากด้วย

ใช่แล้วล่ะ เรากำลังพูดถึง บาสเก็ตบอลในจีน หรือลีก CBA ที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Chinese Basketball Association (ยาวไป จำชื่อย่อดีกว่าเนาะ) ที่เป็นอีกหนึ่งลีก ที่เรามักได้เห็นสตาร์ดังจาก NBA มาเล่นที่นี่อยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Stephon Marbury, Tracy McGrady, Gilbert Arenas, Steve Francis, Metta World Peace หรือ J.R. Smith.

แค่เห็นชื่อ ก็บอกได้เลยว่า พวกนี้นี่ซุป’ตาร์ทั้งนั้นเลย แต่เช่นเดียวกัน ผลผลิตของบาสลีก CBA ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร เพราะพวกเขาก็มีนักบาสที่ไปเล่นยังลีก NBA เช่นกัน  Wang Zhizhi, Mengke Bateer, Yao Ming, Yi Jianlian, Sun Yue, Zhou Qi และ Ding Yanyuhang โดยสองรายหลังสุด คือคนที่ยังเล่นอยู่ในปัจจุบัน

เห็นมั้ยว่า บาสลีก CBA ก็มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าลีกอื่น ๆ เลยนะ ดังนั้นได้เวลาแล้ว ที่เราจะไปทำความรู้จักเพิ่มเติมสักหน่อยเกี่ยวกับ CBA ถ้าพร้อมแล้ว ก็ลุยกันเลย…… และถ้าถูกใจ ชอบใจ อยากแชร์ให้เพื่อนคนไหนดู เราก็ไม่ว่ากันนะ ^^

ปี 1987 – คนจีนกว่าครึ่งประเทศ (450 ล้านคน) เทใจดูบาสเก็ตบอลลีก NBA

1987 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

บาสเก็ตบอลระดับโลก ที่ทุกคนรู้จักกันแน่นอนอยู่แล้ว คงไม่พ้นศึก NBA บาสอาชีพสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีผู้บริหารลีกสูงสุด NBA อย่าง David Stern นั่งแท่นอยู่ในเวลานั้น ก็ได้เกิดไอเดียที่อยากจะตีตลาดในเอเชียที่มีทั้ง ญี่ปุ่น และ จีน ที่เป็นเป้าหมายหลักในภารกิจนั้น

ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว กีฬาที่คนจีนนิยมชมชอบมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ปิงปองและแบดมินตัน ตามมาก็เป็น บาสเก็ตบอล จึงไม่ต้องแปลกใจที่คนจีนส่วนใหญ่จะติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ NBA อยู่แล้ว เพียงแค่จำนวนผู้ติดตามอาจยังไม่ชัดเจนมากนัก

และเมื่อปี 1987 นาย David Stern ก็ได้ตัดสินใจที่จะตีกลุ่มเป้าหมายในประเทศจีน ด้วยการติดต่อกับรัฐบาลของจีน เพื่อที่จะขอเข้าฉายถ่ายทอดสดการแข่งขันบาส NBA ให้ชาวจีนทั้งประเทศได้รับชมกันแบบฟรี ๆ

ซึ่งนั่นทำให้แฟนบาสในประเทศจีนที่มีอยู่แล้ว เกิดหันมาติดตามและให้ความสนใจกีฬาประเภทนี้มากขึ้นแบบผิดหูผิดตาอยู่ที่ประมาณ 450 ล้านคน จากจำนวนประชากรจีนที่มีอยู่ทั้งหมดกว่า 1 พันล้านคน

ไม่เพียงแค่นั้น แต่ David Stern จะมีเป้าหมายอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ต้องการจะดึงเข้ายังประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นการดึงเกมปรีซีซั่นจาก NBA มาเล่นที่จีน รวมถึงในนักบาสสตาร์ดังมาเยือนจีนก็ด้วย


ปี 1995 – หลังดูบาสเก็ตบอล NBA มา 8 ปีเต็ม ก็คลอดลีก CBA เป็นของตัวเอง

1995 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

หลังจาก 8 ปีที่แฟนบาสได้ชมและติดตาม NBA กันเป็นจำนวนมาก ทางรัฐของจีนจึงได้ก่อตั้งลีกบาสเก็ตบอลอาชีพสูงสุดเสียที โดยพวกเขาใช้ชื่อว่า Chinese Basketball Association หรือย่อว่า CBA หากจะเรียกเป็นชื่อจีนก็คือ Zhōngguó Nánzǐ Lánqiú Zhíyè Liánsài  

โดยมีนักกีฬามาร่วมลงทะเบียน เพื่อเป็นนักกีฬาอาชีพกว่าพันคนเลยทีเดียว ซึ่งในตอนเริ่มแรกของลีก มีทีมที่เข้าร่วมลีกทั้งหมด 12 ทีม (ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 ทีม) และรูปแบบการแข่งขันก็เป็นการแข่งแบบพบกันหมดทุกทีม (เหย้า-เยือน)

ซึ่งฤดูกาลการแข่งขันจะเริ่มแข่งตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคม ไปจนถึงช่วงเดือน มีนาคม ของอีกปี และหากนับฤดูกาล 2018-19 ด้วย ศึก CBA ก็เข้าสู่ฤดูกาลที่ 24 เข้าไปแล้ว ถือว่าเป็นอีกหนึ่งลีกที่ดีและใหญ่ที่สุดในเอเชียเลยก็ว่าได้


ปี 1996 – เปิดลีกได้ปีเดียว ก็ฟ้าวเฟี้ยวข้ามฝั่ง John Spencer จาก NBA สู่ CBA

1996 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

หลังจากลีกเริ่มก่อตั้งได้เพียงปีเดียว พวกเขาก็ทำสิ่งที่มันเฟี้ยวฟ้าวอย่างมาก ด้วยการดึงนักบาสต่างชาติ ข้ามฝั่งมาเล่นยังลีก CBA โดยการทำแบบนี้จะเป็นการยกระดับให้กับลีกได้เป็นอย่างดี เพราะนั่นจะทำให้พวกเขาได้เห็นฝีมือของนักบาสระดับโลกจากลีกอื่น ๆ โดยเฉพาะจาก NBA

ซึ่งเมื่อทั้ง NBA และ CBA ได้เป็นคู่ค้าพันธมิตรที่ดีตลอดมา จึงทำให้ทางด้าน NBA อนุมัติให้นักบาสในลีกของตนเอง สามารถย้ายไปเล่นยังลีกแดนมังกรอย่าง CBA ได้แบบทางสะดวกสุด ๆ

ซึ่งนักบาสต่างชาติรายแรกที่ได้เข้ามาเล่นในลีก CBA ก็คือ John Spencer นักบาสสัญชาติอเมกัน ที่ได้ย้ายมาร่วมทีม Jiangsu Dragons เมื่อฤดูกาล 1996–97


ปี 2001 – เปิดครบ 6 ปีก็ส่ง หวัง Wang Zhizhi และ เม้ง Mengke Bateer สู่อ้อมอก NBA

2001 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

และแน่นอนว่า เมื่อมีนักบาสจาก NBA มาเล่นยังลีก CBA ได้ แล้วทำไมนักบาสจากลีกจีน จะไม่สามารถข้ามไปเล่นยังลีกสูงสุดระดับโลกอย่าง NBA ได้ล่ะ โดยนี่คือฝันอันสูงสุดของทั้งแฟนบาสทั่วเอเชียและรวมถึงตัวนักบาสเองด้วย ที่จะได้ไปโลดแล่นบนเวทีนั้น

ซึ่งทั้งสองคนที่เรากำลังจะกล่าวถึงก็คือ หวัง Wang Zhizhi (เสื้อสีกรมฯ คนขวาของรูป) และ เม้ง Mengke Bateer (เสื้อสีขาว คนซ้ายของรูป) โดยรายแรกนั้นได้ย้ายจาก Bayi Rockets ไปยังทีม Dallas Mavericks เมื่อฤดูกาล 2001-02 จากการถูก draft รอบที่สองลำดับที่ 36 (draft คือ การค้นหานักบาสที่เก่งดีมีทักษะมาไว้ในลิสต์ เพื่อให้ทีม NBA เลือกไปร่วมทีม) ถือเป็นคนแรกของประวัติศาสตร์เลยทีเดียว

ส่วนรายที่สอง เม้ง Mengke Bateer ที่เข้าไปยัง NBA พร้อมกันกับทางด้าน หวัง Wang Zhizhi แต่เขาเองกลับได้เริ่มเล่นช้ากว่าอยู่พอสมควร เนื่องด้วยเรื่องเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ทำให้เขาเองได้เพียงไปซ้อมกับทีม Denver Nuggets เมื่อปี 2001 ก่อนจะได้ร่วมทีมและลงเล่นจริง ๆ จัง ๆ แบบ undraft หรือว่าการผ่านทางเอเยนต์แทนในปี 2002 

โดยทั้งสองคนที่เป็นผู้กรุยทางจาก CBA สู่ NBA อาจไม่ได้บูมมากนักในหมู่แฟนบาส เนื่องด้วยผลงานที่ไม่ปังสักเท่าไหร่นัก แต่นั่นถือว่าเป็นการปูทางและเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ สำหรับคนรุ่นถัดไป


ปี 2002 – เปิดครบ 7 ปีส่งของดี เหยา หมิง สู่ NBA

2002 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

หลังจากที่คนทั่วโลกที่ติดตามบาส NBA เริ่มได้ยิยชื่อเสียงนักบาสจากจีนทั้ง หวัง Wang Zhizhi และ เม้ง Mengke Bateer มาก่อนหน้าแล้ว แต่พวกเขาก็ต้องรู้สึกตื่นเต้นและเซอร์ไพร์สอีกครั้ง เพราะนี่คือการมาของชายชาวจีน ที่มาพร้อมกับส่วนสูงถึง 229 ซ.ม. เลยทีเดียว

แฟนบาสชาวจีนเอง ก็ตื่นเต้นและดีใจไม่น้อย ที่พวกเขาได้เห็นผลผลิตจาก CBA พัฒนาและได้ข้ามไปเล่นยังลีกสูงสุดระดับโลกอย่าง NBA โดยการมาของผู้เล่นตำแหน่งเซนเตอร์นามว่า เหยา หมิง Yao Ming ที่ถูกจัดให้เป็น draft อันดับ 1 เมื่อปี 2002 ยิ่งเป็นการสร้างข่าวให้คนทั่วโลกสนใจและติดตาม นักบาสร่างยักษ์รายนี้ได้เป็นอย่างดี

และสุดท้ายเขาก็ถูกเลือกเข้าไปอยู่กับทีม Houston Rockets พร้อมกับเสื้อหมายเลข 11 จากก่อนหน้าที่เล่นให้กับ Shanghai Sharks ในศึก CBA โดยในฤดูกาลแรกของเขาเอง ต้องบอกเลยว่าไม่ได้เลวร้ายมากนัก สำหรับเด็กใหม่บนเวทีแห่งนี้ กับสถิติการทำแต้มเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5 แต้มต่อเกมและรีบาวด์ 8.2 ครั้งต่อเกม


ปี 2002 – คนจีนคลั่งไคล่ จนต้องขอแมตซ์พิเศษ เหยา หมิง vs จอร์แดน

2002 2 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

เชื่อว่าคนทั้งโลกรอคอยที่จะได้เห็น เหยา หมิง Yao Ming ออกสตาร์ทเป็นตัวจริงกับทีมใหม่เสียที หลังจากเกมแรกที่ลงเล่น เขาเป็นเพียงตัวสำรองเท่านั้น และได้ลงเล่นไป 11 นาที แต่นั่นก็เป็นการเริ่มต้นที่ไม่เลวเลยทีเดียว สำหรับมือใหม่ในเวที NBA

และแล้วในเกมต่อมา เกมหยุดโลกของชาวจีน ที่ต้องหยุดทุกการกระทำเพื่อดูเกมการแข่งขันวันนี้ เพราะว่านี่คือเกมที่ เหยา หมิง Yao Ming ได้ออก สตาร์ทเป็นตัวจริง เท่านั้นยังไม่พอ แต่มันเป็นการเริ่มต้นลงเล่นเป็นตัวจริงแบบได้เจอกับระดับตำนาน ระดับพระกาฬของบาส NBA อย่าง ไมเคิล จอร์แดน Michael Jordan ที่พวกเรารู้จักกันเป็นอย่างดี

ทั่วโลกรู้ดีว่า จอร์แดน นั้นเก่งและยิ่งใหญ่แค่ไหนใน NBA แม้ว่านี่จะเป็นการกลับมาเล่นเป็นหนที่สามของเขา แต่นั่นก็สร้างความตื่นเต้นให้คนดู โดยเฉพาะแฟนบาสชาวจีน แทบทนไม่ไหวที่จะได้ชมเกมนี้ แม้แต่ตัวของ เหยา หมิง Yao Ming เองก็ยังออกอาการตื่นเต้นเช่นกัน (ให้สัมภาษณ์หลังเกม) ซึ่งผลสรุปว่าเป็นทางด้านทีมของ เหยา หมิง Yao Ming ที่เอาชนะไปด้วยสกอร์ 93-86

ซึ่ง เหยา หมิง Yao Ming ที่ได้ออกสตาร์ทเป็นตัวจริงทำไปทั้งหมด 18 แต้ม 8 รีบาวด์ 4 บล็อก แถมหลังจากจบเกม ไมเคิล จอร์แดน ยังได้เอ่ยปากชมว่า “เหยา หมิง เองต้องพัฒนาได้อีกไกลแน่ ๆ เพราะเขามีสเต็ปเท้า ความคล่องตัวมากกว่าที่ใครหลายคนคิด เขาเล่นที่ NBA ได้อย่างแน่นอน”

แถม เหยา หมิง Yao Ming ยังได้รับเสียงโหวตอย่างท่วมท้นจนมีชื่อติดทีม NBA All Star และมีโอกาสได้ดวลฝีมือกับ ไมเคิล จอร์แดน Michael Jordan ซึ่งถือว่าสมใจอยากของแฟนบาสจีนไม่น้อยเลยทีเดียว


ปี 2010 – กำเนิดเทพ Stephon Marbury หนึ่งเดียวใจดวงใจ (ไม่เชื่อดูรูปปั้น)

2010 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

Stephon Marbury เป็นผู้เล่นระดับออลสตาร์ที่โด่งดังค่าตัวระดับ 16-20 ล้านเหรียญในสมัยที่เล่นอยู่ใน NBA  แต่ช่วงหนึ่งของชีวิตเขาก็เปลี่ยนไปมาก มากจนทำให้ตัวเขาเองต้องย้ายมาเล่นยัง CBA ประเทศจีน ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น

การปัญหากับผู้บริหารลีกอย่าง David Stern ในเวลานั้น หรือเป็นการมีปัญหาเพื่อร่วมทีมหลาย ๆ คน จนต้องอ้างว่าเขาเองไม่สะดวกในการเดินทางไปซ้อมกับทีม เลยต้องการจะขอย้ายออกจากทีม ซึ่งเขาเองเคยบ่นลงโซเชียลเพื่อเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจในชีวิต

จนท้ายที่สุดเขาก็ได้ไปเล่นยังลีกจีนสมใจ และทันทีที่เขาไปถึงที่นั่น มีแฟนบาสจีนราวกว่า 5,000 คนมาต้อนรับและแสดงความยินดีที่จะได้เห็นฝีไม้ลายมือของเขาที่นั่น และเขาก็ไม่ทำให้ทุกคนผิดหวังเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าเขาสามารถพาทีม Beijing Ducks คว้าแชมป์ CBA ได้ถึง 3 สมัย อีกทั้งยังเป็นMVP เป็น Final MVP เป็น ออลสตาร์ MVP ด้วย

2010 2 1 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

กระแสการมาของเขาทำให้ชาวจีน รวมถึงนักบาสท้องถิ่นได้เห็นถึงฝีไม้ลายมือการยัดห่วงที่ก้าวไปอีกขั้น จึงเป็นทำให้ที่ปักกิ่ง มีทั้งรูปปั้น, มีทั้งพิพิธภัณฑ์ มีทั้งของสะสม มีสแตมป์ที่ระลึก มีทุกอย่างที่สุดยอดนักกีฬามีเลยก็ว่าได้

จนปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้ให้เขาเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือถือสิทธิ์แบบ Permanent Resident ไปแล้วด้วย…


ปี 2011 – แฟนบาสสุดเศร้า 9 ปีรีไทร์ เหยา หมิง ข้อเท้าเจ็บ (NBA 9 ปี, CBA 5 ปี = 1 แชมป์)

2011 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

หลังจาก เหยา หมิง Yao Ming ได้เริ่มฉายแววพรสวรรค์ ในช่วงฤดูกาล 2003-04 แถมไฮไลท์การทำแต้มสูงสุดของเขาเกิดขึ้น ในนัดที่พบกับ Alanta Hawk ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2004 โดยเขาสร้างสถิติให้กับตัวเองด้วยการทำแต้มได้สูงถึง 41 คะแนน กับ 7 แอสซิสต์ ฟอร์มเยี่ยมดี จนได้รับการโหวตให้เป็นผู้เล่นในตำแหน่งเซนเตอร์ในทีม NBA All-Star Game 2004 ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน

ในฤดูกาล 2004-2005  เหยา หมิง Yao Ming ยังคงได้รับการโหวตให้อยู่ในทีม NBA All-Star Game และยังได้ทำลายสถิติของ ไมเคิล จอร์แดน อดีตตำนานนักบาสดัง หลังจากที่เขาได้รับเสียงโหวตในการเลือกทีม All-Star มากที่สุดที่ 2,558,278 คะแนน

ช่วงเวลานี้สื่อต่างชาติยกให้เป็นช่วง “เหยา หมิง ฟรีเวอร์” กันเลยทีเดียว เพราะเขาเองสามารถทำให้คนในประเทศจีนหันมาเล่นและสนใจบาสกันแบบไม่น่าเชื่อ สนามบาสในจีนเกิดขึ้น เท่าที่จะมีพื้นที่ให้เกิดขึ้นได้ราวกับดอกเห็ด คนไม่สามารถละสายตาจากหน้าจอและมือถือได้ เพราะต้องชมการถ่ายทอดสด NBA นี่จึงเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ เหยา หมิง Yao Ming นั่นเอง

และช่วงเวลาที่นักกีฬาทุกคนไม่อยากให้ถึง ก็มาถึงคิวของ เหยา หมิง Yao Ming เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บบริเวณเท้าซ้ายจนต้องเข้ารับการผ่าตัดเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2005 จนพลาดช่วงทีมลงสนามไปถึง 21 เกม เท่านั้นยังไม่พอ ปีต่อมา 2006 เขายังโชคร้ายร้ายกระดูกเท้าซ้ายแตกจนต้องพักยาวไปถึง 6 เดือน

อีกครั้งในปี 2008 เหยา หมิง Yao Ming ก็โชคร้ายได้รับบาดเจ็บกระดูกเท้าซ้ายแตกจนต้องพักยาวทั้งฤดูกาลและการรักษาก็ยังไม่ดีขึ้น เขาไม่สามารถหายขาดจากการบาดเจ็บนี้ได้จนต้องออกมาประกาศรีไทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2011และปิดตำนานนักบาสจีนร่างยักษ์เจ้าของส่วนสูง 229 ซ.ม ในที่สุด

ผลงานต่าง ๆ ที่เขาเองได้รังสรรค์ไว้บนเวที NBA ที่เป็นที่ใฝ่ฝันของคนทั่วโลก โดยเฉพาะคนเอเชียบ้านเรา ถูกจารึกไว้อยู่ในหัวใจ นอกจากนั้นเขาเองยังมีเรื่องราวนอกสนาม ที่ทำให้ใครได้คนได้ยินได้ฟัง ต่างก็รู้สึกศรัทธาและรักตัวเขามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย การเป็นตัวแทนเคมเปญรณรงค์ต่าง ๆ นั่นทำให้เขายิ่งเป็นที่รักของชาวจีนและคนทั่วโลกเข้าไปอีก


ปี 2011 – JR.Smith พลิกชีวิตมืด ไปสว่าง NBA>CBA>NBA = Best 6th man

2011 2 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

JR. Smith เป็นที่รู้จักของผู้ที่ติดตามชมบาส NBA อย่างแน่นอน และในประเทศจีนเองก็มีผู้คนส่วนใหญ่ที่รู้จักเขาด้วยเช่นกัน และหลังจากที่เริ่มมีข่าวออกมาว่า เขาจะย้ายมลงเล่นที่ CBA ก็ทำเอาแฟนบาสที่แดนมังกรต่างรู้สึกตื่นเต้น ที่จะได้เห็นฟอร์มอันสุดยอดของเขา แม้ว่าช่วงเวลานั้น จะมีข่าวที่ไม่ค่อยสู้ดีก็ตาม

ข่าวฉาวของ JR. Smith ต่างออกมาในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นการ ขาดซ้อม ชอบเที่ยวกลางคืน รวมถึงการใช้สารเสพติด นั่นทำให้หลายทีมในศึก NBA ไม่ปรารถนาที่จะได้ตัวเขามาอยู่ในทีมสักเท่าไหร่ แม้ว่าเขาเองจะเป็นนักบาสที่มีพรสวรรค์และฝีมืออย่างมากก็ตาม

เขาใช้เวลาอยู่กับ Zhejiang Golden Bulls เป็นเวลา 1 ฤดูกาลเต็มและโชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการทำแต้มเฉลี่ยสูงถึง 34.4 แต้มต่อเกม และยังสามารถทำแต้มได้มากที่สุดโดยอยู่ที่ 60 แต้ม ในเกมที่เอาชนะ Qingdao Eagles ด้วยคะแนน 122-110

นั่นทำให้ในปี 2012 ทีม New York Knicks ตัดสินใจดึงเขากลับสู่ NBA อีกครั้ง แถมในฤดูกาลนั้นเขายังสามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับรางวัล Best Sixth Man หรือ ผู้เล่นสำรองที่ดีที่สุด ไปครอง


ปี 2012 – Tracy McGrady เพื่อนซี้ เหยา หมิง ย้ายมาลีก CBA เพราะคิดถึง…

2012 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

เพื่อนซี้ของ เหยา หมิง Yao Ming ที่ว่านั่นก็คือ Tracy McGrady นั่นเอง ชายผู้ถูกขนานนามว่าเก่งเทียบเท่ากับ Kobe Bryant ในเวลานั้น แต่เหมือนว่าเขาเองอาจจะทำบุญมาไม่มากพอ ที่จะทำให้ตัวเองก้าวขึ้นไปเป็นแนวหน้าของลีกสูงสุดอย่าง NBA ได้สำเร็จ ซึ่งสิ่งนั้นก็คืออาการบาดเจ็บนั่นเอง

เขาเองเคยลงเล่นให้ทั้ง Toronto Raptors และ Orlando Magic ก่อนจะได้มาร่วมทีมกับ เหยา หมิง Yao Ming เมื่อตอนที่ย้ายมาอยู่กับ Houston Rockets ในปี 2004 ยาวไปถึง 2010 ซึ่งในระหว่างที่ทั้งคู่อยู่ร่วมกัน ต่างสร้างสรรค์ผลงานและพาทีมเก็บชัยชนะได้เป็นว่าเล่น ซึ่งหากนึกถึงเกมที่คนจำได้มากที่สุด ก็คงเป็นเกมที่ทั้งคู่ทำแต้มรวมกันได้ 61 คะแนน พาทีมพลิกชนะ Dallas Mavericks เมื่อปี 2005 

แม้ว่าฟอร์มกำลังจะติดลมบน จนเทียบเท่าสตาร์ดังหลาย ๆ คน อาการบาดเจ็บของเขาในปี 2010 ทำให้เขาเอาไม่สามารถหายและลงเล่นได้อย่างสม่ำเสมอ และทำให้ Houston Rockets ตัดสินใจปล่อยเขาไปยังบ้านเกิดของเพื่อนซี้ที่ประเทศจีนกับลีก CBA กับทีมอย่าง Qingdao DoubleStar Eagles เมื่อปี 2012 เป็นเวลา 1 ฤดูกาล โดยนี่อาจเป็นลมหวนที่ทำให้เขาคิดถึงสมัยที่ได้ลงเล่นกับ เหยา หมิง Yao Ming คู่ซี้ร่างยักษ์อยู่บ้างไม่น้อย

ก่อนจะย้ายกลับไป NBA อีกครั้งกับ San Antonio Spurs และประกาศรีไทร์ในปี 2013


ปี 2014 – ปิดตำนานพี่หวัง นักบาสจีนคนแรกใน NBA (NBA 5 ปี, CBA 16 ปี = 6 แชมป์)

2014 1 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

หวัง Wang Zhizhi เป็นหนึ่งในผู้เบิกทางจาก CBA ไปสู่ NBA ได้ตัดสินใจประกาศเลิกเล่นในที่สุด หลังจากลงเล่นบาสมาเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี กับ NBA 5 ปี และ CBA 16 ปี นอกจากการที่เขาได้ไปลุยยังลีกระดับโลกอย่าง NBA แล้ว การรับใช้ชาติเขาเองยังทำเต็มที่เสมอมาจนสามารถพาทีมชาติจีนกวาดเหรียญได้อย่างมากมาย

และอีกผลงานที่เชื่อว่าบรรดาแฟน ๆ ในศึก CBA และแฟนของทีม Bayi Rockets ไม่มีทางลืมได้ก็คือ การที่เขาพาต้นสังกัดอย่าง Bayi Rockets เป็นแชมป์ได้ 5 สมัยซ้อน นับตั้งแต่เปิดลีก 1995-96 จนถึงฤดูกาล 1999–00 ก่อนจะตัดสินใจไปลุยใน NBA นั่นเอง

แม้ว่าเขาเองจะประกาศเลิกเล่นอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ใช่ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกีฬานี้อีกเลย เพราะเขาได้เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการทีมและเป็นผู้จัดการทีมของ Bayi Rockets ในเวลาต่อมาอีกด้วย


ปี 2015 – ปิดตำนานพี่เม้ง นักบาสจีนคนที่สองใน NBA (NBA 3 ปี = 1 แชมป์, CBA 15 ปี = 1 แชมป์)

2015 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

ในปีต่อมาหลังจากที่ หวัง Wang Zhizhi ได้ประกาศเลิกเล่น เม้ง Mengke Bateer อีกหนึ่งนักบาสที่ไปลุยศึก NBA ด้วยกันก็ได้ประกาศรีไทร์ด้วยเช่นกันหากจากที่โลดแล่นอยู่ในวงการนี้เป็นเวลานาน เป็น NBA 3 ปี และ CBA 15 ปี แถมยังไปได้แชมป์ NBA กับทีม San Antonio Spurs ร่วมกับสตาร์ดังอย่าง ทิม ดันแคน Tim Duncan อีกซะด้วย

แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน นั่นก็คือการที่เขาสามารถเป็นแชมป์สองศึกบาสเก็ตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่าง NBA และ CBA ได้ทั้งสองลีก โดยที่ หวัง Wang Zhizhi หรือแม้กระทั่ง เหยา หมิง Yao Ming เองก็ไม่สามารถทำได้

โดยการได้แชมป์ CBA 2013 เป็นช่วงที่เขาเองกลับมาเล่นให้กับ Beijing Ducks ในยุคที่มีสุดยอดนักบาสนำมาด้วย Stephon Marbury นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลงานใน NBA ของ เม้ง Mengke Bateer จะไม่ได้เปรี้ยงปร้างเหมือน เหยา หมิง Yao Ming แต่เมื่อพวกเขาอยู่ในนามทีมชาติ คู่ต่อสู้ก็ต้องพบงานยากอยู่เสมอ ๆ จนทำให้แฟน ๆ มักตั้งฉายาให้พวกเขาว่านี่แหละ กำแพงเมืองจีน ของจริง !!!


ปี 2016 – เหยา หมิง ขึ้นแท่นบุคคลสำคัญด้านบาสเก็ตบอลของโลกที่ Naismith Basketball Hall of Fame

2016 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

รางวัล Hall of Fame หรือถ้าชื่อเต็ม ๆ ก็คือ Naismith Basketball Hall of Fame โดยรางวัลนี้เป็นสิ่งสูงสุดของนักกีฬาที่ต้องการได้รับเกียรติและใฝ่ฝัน ซึ่งไม่เพียงแค่นักกีฬาเท่านั้นที่มีสิทธิ์ได้รับ แต่บรรดาโค้ช กรรมการ ผู้บริหารต่าง ๆ ก็มีโอกาสเช่นกัน และไม่มีการแบ่งแยกชายหญิงด้วย

โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับรางวัลคือ ต้องเลิกเล่นอย่างน้อยเป็นเวลา 4 ปี (กฏก่อนหน้า 5 ปี) จึงจะถูกเสนอให้ทางสมาพันธ์ได้พิจารณาตามกฏและเกณฑ์ของคณะกรรมการ ดังนั้นรับรองได้เลยว่า คนที่ได้รางวัลนี้ ต้องไม่ใช่แค่คนธรรมดา ๆ แน่นอน เขาต้องเป็นใครสักคนที่มีผลต่อวงการบาสอย่างมาก

แน่เมื่อกฏเกณฑ์เป็นแบบนั้นปี 2016 ก็เหมาะอย่างยิ่งที่ชื่อของชายร่างยักษ์ผู้มีนามว่า เหยา หมิง Yao Ming จะถูกส่งเข้าหอเกียรติยศ Naismith Basketball Hall of Fame เพราะเขาคือผู้ซึ่งสร้างปรากฏการณ์โลกบาสเก็ตบอลในแดนมังกรได้อย่างแท้จริง และแม้ว่าเขาจะไม่มีแชมป์ NBA ติดมือเลยสักครั้งเดียว แต่ผลงานนี้ก็คงพอที่จะทำให้เขาคู่ควรกับรางวัลนี้

  • NBA All-Star 8 สมัย
  • All-NBA 2nd Team 2 สมัย
  • All-NBA 3rd Team 3 สมัย
  • NBA All-Rookie 1st Team

อีกทั้งยังมีการได้ประกาศรีไทร์เสื้อหมายเลข 11 ที่เขาเองได้ ที่ได้ใส่เมื่อตอนยังเล่นให้กับทีม Houston Rockets ด้วย


ปี 2017 – เหยา หมิง ประธาน CBA คนแรก (ถ้าไม่นับรัฐบาล)

2017 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

เหยา หมิง Yao Ming เป็นคนแรกได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมบาสเก็ตบอลแดนมังกร หรือ CBA หลังจากที่ CBA ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีนมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการแต่งตั้งลีกขึ้นมา จึงทำให้หลาย ๆ อย่างยังไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควร

ซึ่งนับจากวินาทีที่ เหยา หมิง Yao Ming เข้ามารับหน้าที่ตรงนี้ เราอาจได้เห็นการพัฒนาก้าวใหม่ของวงการบาสจีน เพราะต้องยอมรับว่านับตั้งแต่ที่ตัวเขาเองเลิกเล่นเมื่อปี 2011 วงการบาสอาจจะดูซบเซาลงไปบ้าง รวมถึงหลาย ๆ อย่างใน CBA ก็ยังไม่ค่อยเข้าทีเข้าทางมากนัก

โดยเป้าหมายลักของเขาที่ตั้งไว้คือ หวังว่า จะสามารถปรับปรุงระบบการดราฟท์ตัวผู้เล่นในลีกจีนให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งยังตั้งเป้าจะแนะนำให้สโมสรในแดนมังกรนำวิธีการฝึกซ้อมในเชิงวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ และยังหวังให้เกิดความร่วมมือกับลีกบาสเกตบอลของสหรัฐฯ ยุโรป และลีกอื่นๆ อีกด้วย


รู้หรือไม่ ? – CBA เหนือ-ใต้ มีไว้ใช้จัดแข่ง All-Star ซีซั่นละหนึ่งเกม

map - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

จริง ๆ การแบ่งเหนือ-ใต้ (ตามสีที่ได้เห็น แดง = เหนือ, เหลือง = ใต้) ไม่ได้มีผลต่อการแข่งขันบาสเก็ตบอลในศึก CBA เลยแม้แต่น้อย แต่เหตุที่จำต้องให้มีการแบ่งนี้ นั่นเป็นเพราะว่าทุก ๆ ปีจะมีการจัดการแข่งขัน CBA All Star Game ในช่วงประมาณเดือนมกราคมของทุก ๆ ปี

โดยมีการคัดเอาผู้เล่นที่จะได้มาเล่นในทีม All Star Game จะมาจากการโหวตของแฟน ๆ บาสทั่วประเทศ ว่าอยากให้ทีมเหนือและทีมใต้มีใครบ้าง ซึ่งจะสามารถโหวตได้ฝั่งละ 5 คนเท่านั้น (ทีมเหนือ 5 คน ใต้ 5 คน) และเมื่อรวบรวมจนได้ทีมละ 10 คนแล้วก็จะทำการประกาศรายชื่อ เพื่อให้แฟน ๆ ได้ทราบและเตรียมตั๋วซื้อตั๋วเข้าไปชมกัน

และแน่นอนว่าแฟนบาสเก็ตบอลทั่วประเทศจีน ก็ให้ความสำคัญกับการแข่งขันนี้ จนสามารถขายตั๋วหมดภายในเวลาไม่นาน เพราะนี่เป็นโอกาสดีที่พวกเขาจะได้เห็นบรรดาสตาร์ดังจากทีมต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่หาดูได้ยาก


รู้หรือไม่ ? – ชื่อทีมบาสใน CBA โคตรเท่และมีกริมมิค

list team 3 779x1024 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

ด้วยการตั้งชื่อทีมที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์มาก ๆ ของศึกบาส CBA ก็อาจมีบางจุดทำให้ใครหลายคนสับสนได้เหมือนกันว่า จริง ๆ แล้วทีมนั้นชื่อว่าอะไรกันแน่ เราขอบอกให้เข้าใจและจำกันได้ง่ายมากขึ้น ดังนี้…

อันดับแรกเลย ชื่อของทีมนั้น ๆ จะต้องขึ้นต้นด้วย มณฑล และต่อมาจะเป็นชื่อของผู้สนับสนุน (หรือที่เรียกว่าสปอนเซอร์นั่นแหละ) แล้วก็ปิดท้ายด้วยชื่อเล่นหรือฉายาที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่ของลีกนี้จะเป็นชนิดสัตว์

name team 3 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

ตัวอย่างเช่น ทีม Beijing Shougang Ducks – Beijing = ชื่อมณฑล, Shougang = ชื่อผู้สนับสนุน, Ducks = ชื่อฉายา

และหากจะให้จำได้ง่ายและไม่สับสน ในเวลาที่เราต้องการติดตมหรือเชียร์ทีมต่าง ๆ ใน CBA ขอแนะนำว่าให้ท่าน อักษรสีส้มในตารางด้านบนได้เลย เพราะนั่นคือชื่อที่ใช้เรียกทีมแบบทั่ว ๆ ไป อย่างทีม Beijing Shougang Ducks ก็จะถูกเรียกว่า Beijing Ducks ถ้าแปลเป็นไทยก็จะกลายเป็น เป็ดปักกิ่ง นั่นเอง 555+


รู้หรือไม่ ? – ทีมแชมป์บาสเก็ตบอลได้แหวนด้วย แค่ถ้วยมันไม่พอ แต่เหวนต้องรอ 7 เดือน

ring 1 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

นอกจากแชมป์ในศึกบาสเก็ตบอลของ CBA จะได้รับถ้วยด้วยแล้ว บรรดาผู้เล่น ทีมงานสตาฟโค้ช หรือผู้บริหารของทีม ก็จะยังได้รับแหวนแชมป์อีกด้วย หลายคนอาจแปลกใจ ว่าทำไมได้ถ้วยแล้ว ยังต้องมีแหวนแถมให้อีกด้วย เราจะขอเล่าให้ฟังสักนิดนึงก็แล้วกัน

การรับมอบแหวนแชมป์ มีมาตั้งแต่ปี 1947 โดยเป็นทาง NBA ที่ริเริ่ม ทำให้ CBA เองก็ดึงพิธีนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการทำแหวนแชมป์ จะถูกจัดทำโดยผู้บริหารของทีมแชมป์นั้น ๆ โดยจะเป็นสตอรี่เล่าถึงการได้แชมป์ของปีนั้นหรืออาจจะเป็นสถิติต่าง ๆ ส่วนถ้วยแชมป์นั้นจะถูกตั้งไว้ที่สโมสร โดยข้อดีของการที่ได้แหวนแชมป์ ก็คือที่ผู้เล่นสามารถเก็บไว้กับตัวได้ตลอด หรือให้กับคนรักได้ตามแต่จะต้องการ

ring 333 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

อีกทั้งยังเป็นแหวนที่มีมูลค่าสูงมาก ๆ อีกด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วจะทำจากเพชรหรือพลอยของจริง (เน้นย้ำว่าของจริง) ตัวอย่างภาพด้านบนที่เป็น แหวนแชมป์ของทีม Liaoning Flying Leopards จากลีก CBA 2017/18 ที่ได้จัดจ้างให้บริษัท Jostens ผู้เชียวชาญชื่อดังด้านแหวนเพชรพลอยจาก สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดีไซน์และจัดทำให้ ซึ่งตัวแหวนนั้นทำจากทองคำขาวและประดับด้วยเพชรแท้กว่า 100 กะรัตเลยทีเดียว อีกทั้งด้านยังมีการสลักชื่อทีมและปีที่พวกเขาได้แชมป์ไว้ด้วย ส่วนด้านข้างจะเป็นจำนวนตัวเลขที่ชนะในฤดูกาลนั้น ๆ

ซึ่งการมอบแหวนนี้ จะมีการมอบให้ตอนเริ่มต้นนัดแรกของฤดูกาลใหม่ (จะไม่ได้แข่งจบแล้วให้เลย) เพราะต้องใช้เวลาในการออกแบบและผลิตพอสมควร อาจจะนานตั้งแต่ 4-7 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งอย่างของลีก CBA ก็ต้องรอกันไป 7 เดือน เลยทำให้ฟีลแห่งความสุขของนักกีฬาหายไปบ้าง 555+

ring 222 - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA

ส่วนอีกหนึ่งตัวอย่างของ แหวนแชมป์ทีม Golden state warriors ของ NBA 2017/18 แหวนของพวกเขาก็ถูกจัดทำโดย Jason of Beverly Hills หนึ่งในผู้ผลิตเพชรพลอยชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ที่ได้ออกแบบและจัดทำอย่างสวยงาม ตัวแหวนทำจากทองคำและทองคำขาว ประดับด้วยเพชร 74 เม็ดและพลอยสีน้ำเงินอีก 74 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนตัวเลขชัยชนะของพวกเขาในฤดูกาลปกติ

ด้านหน้าเป็นรูปตราสัญลักษณ์สำคัญประจำเมืองคือ สะพานทอง Golden state รวมถึงรูปถ้วยแชมป์สองถ้วยและหมายเลขของผู้เล่นคนนั้น ๆ ซึ่งหากตีมูลค่าของจำนวนแหวนและเพชรพลอยที่ใช้ไปทั้งหมดในการทำแหวนแชมป์นี้ มูลค่าสูงกว่า 1 ล้านบาทไทยเลยทีเดียวเชียวล่ะ

สำหรับแหวนแชมป์ ในกีฬาอาชีพของอเมริกา ถือว่าเรื่องปกติเอามาก ๆ ไม่ใช่เฉพาะ NBA ที่ทำแบบนี้เท่านั้น ทางอเมริกันฟุตบอล NFL หรือ ฮ๊อคกี้ NHL หรือเมเจอร์ลีคเบสบอล MLB ก็มีการมอบแหวนแชมป์ด้วยเหมือนกัน

หากสนใจวางเดิมพัน บาสเก็ตบอล CBA 
188BET ของเราก็เปิดให้เพื่อน ๆ ให้ลองแล้ว (คลิกที่ภาพได้เลย)

CBA Logo - กำเนิดบาสเก็ตบอลในจีน CBA
Share: